ยินดีต้อนรับสู่ มูเตลู-มานุษยวิทยา

เว็บตรง ดูดวง พยากร โหราศาสตร์ ออนไลน์
มุ่งมั่นสู่ความเป็นเลิศ
ยินดีต้อนรับสู่ มูเตลู-มานุษยวิทยา เป้าหมายหลักของเราคือการบรรลุความพึงพอใจของลูกค้าในระดับสูงเสมอด้วยบริการและผลิตภัณฑ์ที่เรามอบให้ แนวทางง่ายๆ นี้ช่วยขับเคลื่อนการเติบโตของเราได้อย่างมีประสิทธิภาพนับตั้งแต่เราเปิดประตูในปี 2000 เราตื่นเต้นมากที่คุณตัดสินใจมาเยี่ยมเรา โปรดเรียกดูไซต์ของเราเพื่อดูว่าเรากำลังทำอะไรอยู่
PG Production online



Describe your image






Our Story
กระแสมูเตลูในสังคมสมัยใหม่
คำว่า “มูเตลู” หรือ “สายมู” สันนิษฐานว่าเป็นคำที่ผวนมาจากชื่อภาพยนตร์ของอินโดนีเซีย เรื่อง Penangkal limu Teluh (ภาษาอังกฤษชื่อว่า Antidote for witchcraft) ชื่อไทยคือ “เมเตลู ศึกไสยศาสตร์” กำกับโดย S.A Karim ออกฉายเมื่อปี ค.ศ.1979 (innnews, 2564)
กระแสมูเตลูได้รับการกล่าวถึงในฐานะเป็นความเชื่อในวัตถุและเครื่องรางของขลังที่ทำให้เกิดโชคลาภและประสบความสำเร็จในชีวิต โดยเริ่มจากกำไลข้อมือและตะกรุดแฟชั่นที่ศิลปินและผู้มีชื่อเสียงในสังคมนำมาใส่ประดับเพื่อความสวยงามพร้อมกับเป็นเครื่องนำโชค ซึ่งเป็นการผสมรวมระหว่างงานศิลปะกับความเชื่อเรื่องอำนาจเหนือธรรมชาติ ที่มีพลังวิเศษดลบันดาลให้ผู้สวมใส่ได้รับสิ่งที่ดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการงาน การเงิน การเรียน ความรัก และเสริมดวงชะตาให้ประสบความสำเร็จและรอดพ้นจากอันตราย ทั้งนี้ ผู้ที่สวมใส่เครื่องรางของขลังที่ถูกสร้างขึ้นตามความเชื่อทางศาสนาหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์จะต้องมีวิธีปฏิบัติตัวให้เหมาะสมกับการสวมใส่ เช่น การประกอบพิธีกรรม การเซ่นไหว้บวงสรวงเทพเจ้า การสักการะบูชารูปเคารพในสถานที่ทางศาสนา ปรากฎการณ์เหล่านี้คือความเชื่อที่ดำรงอยู่ในวิถีชีวิตของคนยุคปัจจุบัน พบเห็นได้ในหลายสังคม เช่น ในประเทศฮ่องกง มีการไหว้พระขอโชคลาภที่วัดแชกง หมิว ขอพรเรื่องการเรียนและการงานที่วัดหมั่นโหม่ ในไต้หวัน มีการไหว้พระขอเนื้อคู่จากเทพเฒ่าจันทราที่วัดหลงซาน ในญี่ปุ่น มีการนิยมพกเครื่องรางนำโชคที่เรียกว่าโอมาโมริ (Omamori) เป็นถุงผ้าไหมขนาดเล็กปักลวดลายสวยงาม ภายในถุงมีเครื่องรางทำด้วยกระดาษ ไม้ ผ้าและเหล็ก ในประเทศไทย มีการไหว้พญานาค ท้าวเวสสุวรรณ ไอ้ไข่ การพกปลัดขิก เป็นต้น ในสังคมตะวันตก มีความเชื่อในเครื่องรางนำโชค เช่นสัญลักษณ์รูปเกือกม้า เครื่องรางตาข่ายดักฝันร้าย และเครื่องรางดวงตาปีศาจ
พระพิฆเนศ 32 ปาง ที่ผู้คนต่างนับถือบูชา
พระพิฆเนศ มหาเทพของศาสนาพราหมณ์ เทพเจ้าแห่งความสำเร็จสมปราถนา เทพแห่งศิลป์และสรรพวิทยาการ ที่ไม่ใช่แต่คนที่นับถือศาสนาพราหมณ์จะนับถือ แต่ชาวพุทธเราเองก็ได้นับถือบูชาองค์พระพิฆเนศกันอย่างมากมาย วันนี้เราจึงขอนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับ "พระพิฆเนศ 32 ปาง" ให้ชาว Horoscope ให้ได้รู้กัน ซึ่งมีด้วยกัน 32 ปาง แต่ละปางก็จะมีจุดประสงค์ในการบูชาที่ต่างกันออกไปดังนี้

Describe your image

Describe your image

Describe your image

Describe your image

Describe your image

Describe your image

Describe your image

Describe your image

Describe your image
เครื่องรางของขลังในความคิดของตะวันตก
สิ่งที่เรียกว่าเป็นเครื่องรางของขลังปรากฏอยู่ในสังคมของมนุษย์มาช้านานและมีรูปแบบที่แตกต่างหลากหลาย โดยความหมายของเครื่องรางของขลังมักจะเกี่ยวข้องกับความเชื่อที่มนุษย์มีต่ออำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์และพลังเหนือธรรมชาติ โดยแสดงออกผ่านการสร้างวัตถุสิ่งของเพื่อนำไปปลุกเสกโดยผู้ที่มีคาถาอาคม และผ่านพิธีกรรมบางอย่าง เพื่อทำให้วัตถุเหล่านั้นมีพลังวิเศษที่ช่วยทำให้มนุษย์ได้รับประโยชน์และความสำเร็จ ในปริมณฑลของการเป็นวัตถุ จะพบว่าเครื่องรางของขลังจะได้รับการกราบไหว้บูชา Pietz (1985, 1987, 1988) ตั้งข้อสังเกตว่าในความคิดของชาวตะวันตก เครื่องรางของขลังที่ปรากฏอยู่ในวัฒนธรรมอื่นสะท้อนความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าและวิญญาณที่ศักดิ์สิทธิ์ที่กลุ่มชนพื้นเมืองมีเก็บไว้ในบ้านและเป็นวัตถุประจำตัว ชาวตะวันตกใช้คำว่า fetish เพื่อบ่งบอกถึงวัตถุที่เป็นของบูชาโดยมีรากศัพท์มาจากภาษาโปรตุเกส (feitiço) ซึ่งหมายถึงเหตุการณ์เกี่ยวกับเวทมนตร์คาถา (magical event) โดยมิได้เกี่ยวข้องกับอำนาจของเทพเจ้าแต่อย่างใด กล่าวคือในวัฒนธรรมของชาวโปรตุเกส คำว่า feitiço บ่งบอกถึงการสวดและท่องคาถา หรือกระทำการบางอย่างด้วยเวทมนตร์เพื่อให้เกิดผลลัพธ์บางอย่างตามมา (Sansi, 2007)
ในสังคมโปรตุเกสช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14 มีการสั่งห้ามสร้างวัตถุทางศาสนาหรือเกี่ยวข้องกับเวทมนตร์ เพราะเชื่อว่าเป็นการกระทำที่เชื่อมโยงถึงปีศาจและความชั่วร้าย แต่ในวิถีชีวิตของชาวบ้านยังคงบูชาเครื่องรางของขลังแบบลับๆ โดยมิให้เจ้าหน้าที่ราชการล่วงรู้ เพราะชาวบ้านเชื่อว่าการบูชาวัตถุทางศาสนาจะช่วยขับไล่ภูตผีปีศาจออกไปจากชีวิต ซึ่งสวนทางกับความคิดของกษัตริย์ที่มองเครื่องรางของขลังเป็นเหมือนความชั่วร้าย (Pietz, 1987) เมื่อชาวโปรตุเกสเดินทางไปถึงแอฟริกาตะวันตกในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 ได้นำความเชื่อเรื่องเครื่องรางของปีศาจติดตัวไปด้วย และคิดว่าวัตถุที่ชาวแอฟริกาบูชาไว้ในบ้านคือสิ่งที่เกี่ยวข้องกับปีศาจ ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 17 นักเดินทางชาวดัตช์เขียนเรื่องราวที่พบเจอในดินแดนแอฟริกาโดยกล่าวถึงเครื่องรางของชนพื้นเมืองว่าเป็นการบูชาเทพเจ้าที่ศักดิ์สิทธิ์ ความเข้าใจของชาวตะวันตกในแนวทางนี้มีอิทธิพลต่อการศึกษาความเชื่อทางศาสนา นำไปสู่การอธิบายว่าชาวแอฟริกับกราบไหว้บูชาเครื่องรางของขลังในฐานะเป็นพระเจ้าที่สูงส่ง ตรงข้ามกับรูปปั้นในคริสต์ศาสนาซึ่งเป็นภาพตัวแทนของพระเจ้า ความคิดที่แบ่งแยกความเชื่อทางศาสนาของชาวตะวันตกออกจากคนพื้นเมืองในดินแดนอื่น สะท้อนว่าศาสนาของคนพื้นเมืองจะถูกมองเป็นเรื่องทางไสยศาสตร์ (Sansi, 2015)
ในการอธิบายของ Bosman (1705) เชื่อว่าผู้มีคาถาอาคมในสังคมของชาวแอฟริกันจะสร้างเครื่องรางของขลังขึ้นเพื่อทำให้ชาวบ้านนำไปใช้ปกป้องคุ้มครองจากอันตรายและรอดพ้นจากภูตผีปีศาจ ความเชื่อนี้นำไปสู่ความเข้าใจว่าศาสนาของชาวแอฟริกันเกิดจากผู้มีอำนาจทางสังคมหรือผู้ปกครองที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติของชาวบ้าน ซึ่งคล้ายกับผู้ปกครองเอารัดเอาเปรียบและหาประโยชน์เข้าตัวเอง Bosman อธิบายว่าชาวบ้านต่างรู้ว่าผู้ปกครองกำลังใช้อำนาจแต่ยินยอมที่จะเคารพบูชาเครื่องรางของผู้มีอำนาจ คำอธิบายดังกล่าวนี้เป็นวิธีคิดของชาวตะวันตกในช่วงอาณานิคม ที่มองชนเผ่าพื้นเมืองเป็นผู้ที่ปราศจากเหตุผลและงมงายในความเชื่อไสยศาสตร์ ขณะเดียวกันเป็นช่วงเวลาที่ชาวตะวันตกกำลังแผ่ขยายอิทธิพลทางเศรษฐกิจไปยังทวีปแอฟริกา ซึ่งมีการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าจากแอฟริกามายังยุโรป ทั้งนี้วิธีคิดเกี่ยวกับมูลค่าของวัตถุที่ต่างกันทำให้ชาวตะวันตกทำการค้าที่ยาก เนื่องจากชาวแอฟริกันมิได้ให้ราคาของวัตถุสิ่งของเป็นเงินตรา แต่ให้คุณค่าเชิงจิตวิญญาณ
แนวคิดเรื่อง fetishism ถูกสถาปนาขึ้นโดย Charles De Brosses (1760) ซึ่งเสนอว่ารากเหง้าความเชื่อทางศาสนาเกิดขึ้นจากการบูชาวัตถุทางไสยศาสตร์และการใช้เวทมนตร์คาถา โดยสันนิษฐานว่าความกลัวของมนุษย์เป็นบ่อเกิดของการแสวงหาที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ และใช้วัตถุที่ผ่านพิธีกรรมทางเวทมนตร์มาเป็นเครื่องป้องกันคุ้มครองอันตราย ซึ่งสะท้อนการเคารพบูชาอำนาจเหนือธรรมชาติและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของมนุษย์ อำนาจเหล่านั้นจะถูกมองในฐานะบุคคลที่มีพลังวิเศษและสามารถดลบันดาลให้เกิดเหตุการณ์ต่างๆ ได้ (Leonard, 2016) คำอธิบายของ Brosses เสนอข้อถกเถียงสำคัญที่ว่าความสัมพันธ์ที่มนุษย์มีต่อวัตถุสิ่งของไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นบนมิติทางเศรษฐกิจ และความรู้วิทยาศาสตร์ซึ่งมักมองวัตถุด้วยมูลค่าและราคาซื้อขายในระบบตลาด แต่สามารถเกิดขึ้นบนมิติของความเชื่อทางศาสนาและอำนาจเหนือธรรมชาติซึ่งเป็นประเด็นที่ Marx (1992) เคยอธิบายว่าคุณค่าในวัตถุไม่จำเป็นต้องวัดจากราคา แต่มันมีค่าในตัวมันเอง ในประเด็นนี้ Latour (1993) เคยตั้งข้อสังเกตว่าความรู้ของชาวตะวันตกได้ทำให้พรมแดนความเชื่อทางศาสนาแยกออกไปจากพรมแดนของวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นการสร้างคู่ตรงข้ามระหว่างความมีเหตุผลกับความไร้เหตุผล ดังเช่น Kant (1960) มองว่าการบูชาเครื่องรางของชาวแอฟริกันคือความน่าอายและความไร้สาระที่ขัดต่อสติปัญญาของมนุษยชาติ ส่วน Hegel (1956) เชื่อว่าการบูชาเครื่องรางของขลังมิใช่คุณลักษณะของศาสนา เพราะยึดมั่นกับอำนาจเหนือธรรมชาติที่คาดเดาไม่ได้
ภายใต้กระบวนทัศน์วิทยาศาสตร์ในยุคสมัยใหม่ คำอธิบายเกี่ยวกับไสยศาสตร์และเครื่องรางของขลัง เป็นการตีความผ่านโลกทัศน์ของชาวตะวันตกและกลายเป็นความคิดหลักในแวดวงวิชาการ ซึ่งทำให้เกิดการแบ่งแยกความเชื่อไสยศาสตร์ออกจากความรู้วิทยาศาสตร์ (Böhme, 2014) นอกจากนั้นยังทำให้เกิดการอธิบายวิวัฒนาการทางศาสนาที่เริ่มต้นจากความเชื่อในภูตผีปีศาจไปสู่ความรู้ทางศาสนาแบบมีพระเจ้าองค์เดียว เห็นได้จากในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ที่นักมานุษยวิทยามองลำดับขั้นทางศาสนาที่เริ่มจากสังคมชนเผ่าซึ่งนับถือผีและวิญญาณนิยม (Animism) ไปสู่สังคมสมัยใหม่ที่นับถือศาสนาคริสต์ (Tylor, 1874) แต่สิ่งที่นักมานุษยวิทยามองต่างไปจากความคิดของนักวิทยาศาสตร์ก็คือการทำความเข้าใจความเชื่ออำนาจเหนือธรรมชาติของคนพื้นเมือง ในฐานะเป็นโลกทัศน์อีกแบบหนึ่งที่ต่างไปจากวิธีคิดแบบเหตุผลนิยม

ดึงดูดเรื่องโชคลาภ และที่เกี่ยวกับเงิน ๆ ที่มากับการเสี่ยงทาย

เซตเก็บอยู่ หมุนเงินสบาย เป็นการจัดให้เพื่อปรับสภาพคล่องทางการเงินเก็บเงินอยู่ มีคนคอยช่วยเหลือเรื่องการเงิน และเพิ่มช่องทางรายได้มากขึ้น
เวลาทำการ
มาเยี่ยมชม
จันทร์ - ศุกร์ : 9.00 - 18.00 น
วันเสาร์: 10.00 - 14.00 น
อาทิตย์: ปิด